ขิง

ขิง สกัดอัดเม็ด จินเจอร์-ซี กิฟฟารีน ผสมวิตามิน C

ขิง กิฟฟารีน

ขิง(Ginger) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Zingiber officinale Roscoe ขิงมีสรรพคุณเป็นยา ทั้งในตำรับยาไทย จีน และแพทย์อายุรเวท โดยเหง้าของขิงแก่ มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ท้องผูก เหงือกอักเสบ แก้ไอขับเสมหะ บรรเทาข้ออักเสบ รักษาอาการปวดศีรษะรวมทั้งช่วยกระตุ้นการอยากอาหาร (อ้างอิงที่ 1)

รายงานผลการศึกษาทางคลินิกของ ขิง มีหลายการศึกษาที่สนับสนุนการรักษา และป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะยาวอย่างปลอดภัย ดังต่อไปนี้

  • ลดอาการปวดและอักเสบในผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และลดการปวดกล้ามเนื้อ
ประโยชน์ ขิง

มีงานวิจัยที่ทำในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 261 คน โดยให้รับประทานสารสกัดจากขิง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากขิงมีอาการปวดลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 2)

อีกงานวิจัย ทำการศึกษาในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ (Gonarthritis) 29ราย โดยได้รับสารสกัดจากขิง (เทียบเท่ากับเหง้าขิง 250มิลลิกรัม) วันละ 4ครั้ง เป็นระยะเวลา 6เดือน พบว่าสารสกัดจากสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 3)

ยังมีการศึกษาในผู้ป่วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) จำนวน 28คน และ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)จำนวน 18คน พบว่า 3ใน 4ของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมทั้ง2 ชนิด มีอาการปวดข้อลดลง และพบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Muscular discomfort)จำนวน 10คน ทั้งหมดมีอาการปวดลดลง (อ้างอิงที่ 4)

มีการทดลองแบบ double-blind randomized placebo-controlled clinical trialในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่มีอาการปวดระดับปานกลาง จำนวน 120คน โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่รับประทานแคปซูลผงขิง จำนวน 2แคปซูล ต่อวัน (500มิลลิกรัมต่อแคปซูล หรือ 1กรัมต่อวัน) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ผงแป้งในขนาดเดียวกัน) เป็นระยะเวลา 3เดือน พบว่า ระดับตัวชี้วัดภาวะการอักเสบได้แก่ nitric oxide (NO) และ hs-C reactive protein (hs-CRP) ในเลือด ของผู้ป่วยที่ได้รับแคปซูลผงขิงลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจให้ผงขิงเสริมในผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้ (อ้างอิงที่ 5)

ลดอาการปวดประจำเดือนได้ไม่แตกต่างจากยาต้านการอักเสบที่นิยมใช้กันทั่วไป

ประโยชน์ ขิง

และช่วยลดการสูญเสียเลือดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมามาก

มีงานวิจัยเปรียบเทียบผลการลดอาการปวดประจำเดือนของผงขิงกับยาต้านการอักเสบที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ Mefenamic acid และ Ibuprofen พบว่า กลุ่มที่ได้รับผงขิง 250 มิลลิกรัมต่อแคปซูล 4 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 วันก่อนถึงรอบเดือน มีอาการปวดประจำเดือนลดลงไม่ต่างจากกลุ่มที่ได้รับยา (อ้างอิงที่ 6)

และการศึกษาการลดการสูญเสียเลือดประจำเดือน ในวัยรุ่นผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมามาก อายุระหว่าง 15-18ปี จำนวน 90คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงขิง ขนาด 250มก. วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4วัน (เริ่มจากวันก่อนที่จะมีประจำเดือนจนถึงวันที่ 3ของการมีประจำเดือน) มีการสูญเสียเลือดประจำเดือนลดลง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (อ้างอิงที่ 7)

ขิงลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดและจากการเมารถเมาเรือ

ประโยชน์ ขิง

มีการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์) จำนวน 120คน พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากขิงขนาด 125มิลลิกรัม วันละ 4ครั้ง เป็นเวลา 4วัน มีอาการคลื่นไส้น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในการศึกษาเดียวกันนี้ มีการติดตามเรื่องความปลอดภัยของทารกในครรภ์ พบว่า ความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ของมารดาที่รับประทานสารสกัดจากขิง เทียบกับกลุ่มประชากรทั่วไป ไม่มีความแตกต่างกัน (อ้างอิงที่ 8)

มีรายงานว่าการใช้ขิงในขนาดอย่างน้อย 1กรัม มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังการผ่าตัดได้ดีกว่ายาหลอก (อ้างอิงที่ 9)และพบว่าการให้ขิงร่วมกับยา Prochlorperazine .oผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดจำนวน 20ราย สามารถลดความรุนแรง และระยะเวลาในการคลื่นไส้ได้ (อ้างอิงที่ 1)และขิงยังมีฤทธิ์แก้คลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือได้ด้วย (อ้างอิงที่ 10)

  • ลดระดับไขมันในเลือด

มีการศึกษาแบบ double blind controlled clinical trial พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลขิง 1กรัม วันละ 3ครั้ง เป็นเวลา 45วัน มีระดับค่าเฉลี่ยของไตรกลีเซอไรด์, โคเลสเตอรอล,  แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานขิง(อ้างอิงที่ 11)

  • ช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน

การศึกษาแบบ double blind randomized clinical trial เปรียบเทียบการใช้ขิงกับยา sumatriptan (ยารักษาอาการไมเกรน) ในผู้ป่วย จำนวน 100คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลขิง 250มก. 1แคปซูล และกลุ่มที่ได้รับยา sumatriptan 50มก. 1แคปซูล ทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะ พบว่าความรุนแรงของอาการปวดลดลงในทั้ง 2 กลุ่ม หลังจากได้รับยา 2 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของขิง และยา sumatriptan ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อาการไม่พึงประสงค์ของขิงจะน้อยกว่า (อ้างอิงที่ 12)

  • ช่วยเรื่องอาหารไม่ย่อย

มีงานวิจัยให้ขิงบรรจุแคปซูล ปริมาณ 1.2 กรัมกับคนไข้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย พบว่า ขิงช่วยกระตุ้นให้การย่อยอาหารดีขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 13)

ข้อควรระวัง :

  • ระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets) เนื่องจากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และทำให้เลือดไหลหยุดยาก (อ้างอิงที่ 1, 14)
  • ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ (อ้างอิงที่ 1, 15, 16)
  • ไม่แนะนำให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี (อ้างอิงที่ 1)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดขิงผสมผงขิง และวิตามินซี ชนิดแคปซูล

จินเจอร์-ซี

ส่วนประกอบสำคัญ สารสกัดจากขิง 80 มก. ผงขิง 40 มก. และวิตามินซี 40 มก.
เหมาะสำหรับ  ผู้ที่มีอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน ผู้ที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพโดยรวม

วิธีรับประทาน : 1 แคปซูล หลังอาหาร
รหัสสินค้า 41031
ปริมาณสุทธิ : 60 แคปซูล ราคา 400 บาท ราคาสมาชิก 300บาท

สามารถจดรหัสนี้ 111066933 ไปซื้อได้ที่สาขาใกล้บ้าน ลด25% ทั่วประเทศ

!สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้

!ส่งถึงหน้าบ้าน !มีเก็บปลายทาง

​ติดต่อสอบถามสั่งซื้อรับส่วนลด

line@

Tel.0835604800 

Line : shareyonsk

กิฟฟารีนได้นำมาผลิตภายใต้มาตรฐาน GMP  ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่าปลอดเชื้อโรคปลอดสารพิษปลอดโลหะหนักจึง ปลอดภัย100%


HYA
HYA

เอกสารอ้างอิง

  1. ประสิทธิภาพของสมุนไพรขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน, สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. Effects of a ginger extract on knee pain in patients with osteoarthritis. Arthritis Rheum. 2001 Nov;44(11):2531-8
  3. The effects of Zintona EC (a ginger extract) on symptomatic gonarthritis. Osteoarthritis Cartilage. 2003 Nov;11(11):783-9
  4. Ginger (Zingiber officinale) in rheumatism and musculoskeletal disorders. Med Hypotheses. 1992 Dec;39(4):342-8
  5. Effect of ginger powder supplementation on nitric oxide and C-reactive protein in elderly knee osteoarthritis patients: A 12-week double-blind randomized placebo-controlled clinical trial. J Tradit Complement Med. 2015 Jan 28;6(3):199-203
  6. Comparison of effects of ginger, mefenamic acid, and ibuprofen on pain in women with primary dysmenorrhea.J Altern Complement Med. 2009 Feb;15(2):129-32
  7. Effect of ginger (Zingiber officinale) on heavy menstrual bleeding: a placebo-controlled, randomized clinical trial.Phytother Res. 2015 Jan;29(1):114-9
  8. Effect of a ginger extract on pregnancy-induced nausea: a randomised controlled trial. Aust N Z J Obstet Gynaecol. 2003 Apr;43(2):139-44
  9. The efficacy of ginger for the prevention of postoperative nausea and vomiting: a meta-analysis. Am J Obstet Gynecol. 2006 Jan;194(1):95-9
  10. ขิง. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=39
  11. Investigation of the effect of ginger on the lipid levels. A double blind controlled clinical trial. Saudi Med J. 2008 Sep;29(9):1280-4
  12. Comparison between the efficacy of ginger and sumatriptan in the ablative treatment of the common migraine. Phytother Res. 2014 Mar;28(3):412-5
  13. Effect of ginger on gastric motility and symptoms of functional dyspepsia. World J Gastroenterol. 2011 Jan 7; 17(1): 105–110
  14. The Effect of Ginger (Zingiber officinale) on Platelet Aggregation: A Systematic Literature Review. PLoS One. 2015; 10(10): e0141119
  15. Zingiber officinale (Ginger) Monograph. http://archive.foundationalmedicinereview.com/publications/8/3/331.pdf
  16. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 294) พ.ศ.2548 เรื่อง รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี