ทรีจี จินเส็ง กิฟฟารีน โสมสกัด
โสม ถือเป็นราชาแห่งสมุนไพรและถูกนำมาใช้เป็นเวลานานกว่า 2,000ปี (อ้างอิงที่ 1)โสมที่ทาง อย. ไทยอนุญาตให้ใช้ มีอยู่ด้วยกันสามสายพันธุ์ คือ โสมเกาหลี (Korean Ginseng)มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Panax ginseng C.A. Mey. โสมอเมริกัน (American Ginseng) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Panax quinquefolius L. และโสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Eleutherococcus senticosus (อ้างอิงที่ 2)
โสมแต่ละชนิด มีประโยชน์ในด้านต่างๆหลากหลาย กล่าวโดยพอสังเขปได้ดังนี้
- โสมเกาหลีช่วยต้านความเหนื่อยล้าและช่วยฟื้นตัวจากอาการล้า (Anti-Fatigue & Fatigue Recovery) เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย ช่วยบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ลดและป้องกันมะเร็งหลายชนิด ช่วยในเรื่องโรคปอดเรื้อรัง
- โสมอเมริกันช่วยเรื่องความจำ การทำงานของระบบประสาทและสมอง กระตุ้นระบบภูมิคุมกันของร่างกาย
- โสมไซบีเรียเป็นอแดปโตเจน (Adaptogen) ช่วยปรับและรักษาสมดุลของร่างกาย ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
งานวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของโสมทางวิชาการและ ทางการแพทย์ที่น่าสนใจ รวมถึงความปลอดภัย มีดังนี้
- ช่วยต้านความเหนื่อยล้าและช่วยฟื้นตัวจากอาการล้า(Anti-Fatigue & Fatigue Recovery) มีงานวิจัยหลากหลายที่สนับสนุนว่า โสมเกาหลี ช่วยต้านความเหนื่อยล้าและช่วยฟื้นตัวจากอาการล้า ซึ่งได้ทำการการทดสอบในผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบหลายเส้น โดยให้รับประทานโสมครั้งละ 250 กรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (อ้างอิงที่ 3-6)
- เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว (Erectile dysfunction) 45 ราย โดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 มก. วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 2 เดือน พบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน (อ้างอิงที่ 7)และยังมีอีกหลายงานวิจัยที่ชี้บ่งว่า โสมเกาหลีเสริมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย (อ้างอิงที่ 8-9)
- ช่วยบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดโสมเกาหลี มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจโดยออกฤทธิ์คล้ายกับยาหัวใจ (digoxin) (อ้างอิงที่ 10) และงานวิจัยในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ (Cardiac surgery) 60 คน มีโดยให้ผู้ป่วยทานโสม 250 มก. เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า โสมมีผลช่วยป้องกันหัวใจขาดเลือดและการบอบช้ำจากการผ่าตัดลิ้นหัวใจของผู้ป่วย 52 คนได้ (อ้างอิงที่ 11)
- ลดและป้องกันมะเร็งในการวิจัยย้อนหลัง (Case control study) ซึ่งเป็นการวิจัยที่เหมาะสมในการหาความเสี่ยงและป้องกันการเกิดมะเร็งในคน พบว่าในคนที่ทานโสมมีอุบัติการณ์หรือโอกาสเป็นมะเร็งลดลงอย่างมาก มะเร็งที่ลดลงเมื่อทานโสมได้แก่ มะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมีงานวิจัยของเกาหลีพบว่า การรับประทานโสมเกาหลีเป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ด้วยการทำงานในด้านการต้าน อัลฟาทอกซินบี และยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุอื่นได้ (อ้างอิงที่ 12)
- ช่วยในโรคถุงลมโป่งพอง(COPD) มีงานวิจัยให้ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง 92คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้สารสกัดโสม วันละ 200มก. 49คน และกลุ่มควบคุม ได้รับยาหลอก อีก 43คน เป็นเวลา 3เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดโสม มีสมรรถภาพทางปอดดีขึ้นอย่างมากในทุกด้าน โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง แต่กลุ่มที่ได้รับยาปลอมไม่มีผลดีขึ้นแต่อย่างใด (อ้างอิงที่ 13)
- ช่วยเรื่องความจำ การทำงานของระบบประสาทและสมอง พบว่ามีหลายงานวิจัยที่สนับสนุนว่า การใช้โสมอเมริกัน ช่วยให้การทำงานของสมองด้านความจำดีขึ้น และช่วยปกป้องระบบประสาท (อ้างอิงที่ 14-18)
- ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โสมอเมริกัน มีผลต่อการกระตุ้น lymphocytes และ monocytes โดยผ่านกลไกช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งมีศักยภาพในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันได้ (อ้างอิงที่ 19)และอีกงานวิจัยทดสอบในอาสาสมัคร 32 คน แบ่งเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโสมไซบีเรีย 10 มล. วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ช่วยเพิ่ม T- lymphocytes,B – lymphocytesจึงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นได้(อ้างอิงที่ 20)
- โสมไซบีเรีย เป็นอแดปโตเจน (Adaptogen) ช่วยเพิ่มความต้านทานของร่างกายต่อปัจจัยลบต่างๆทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ช่วยปรับและรักษาสมดุลของร่างกาย มีฤทธิ์ต้านความเครียด ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดอาการอ่อนล้า ที่มีความปลอดภัย ไม่มีพิษต่อผู้ใช้ (อ้างอิงที่ 21-22)
โสมมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลายาวนาน ผลข้างเคียงมีน้อยมาก ที่พบได้มีแค่ อาการปวดศีรษะ และทางเดินอาหาร และรบกวนการนอนหลับเท่านั้น อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือน และมีรายงานถึงคนที่แพ้อย่างรุนแรงได้ โดยมีอาการทางผิวหนัง แต่ทั้งหมดนี้เกิดได้น้อยมาก (อ้างอิงที่ 24)
ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างแรง (Warfarin), ยากระตุ้นหัวใจ (Digoxin), ยาแก้ซึมเศร้า (Phenelzine), ยาแอสไพริน และสุรา (อ้างอิงที่ 23)
2.ไม่แนะนำในเด็กและสตรีมีครรภ์
3.ไม่แนะนำในคนที่ตับอักเสบ คือมีเอนไซม์ของตับสูงแล้ว (ไวรัสตับอักเสบบีที่เป็นพาหะ ยังไม่มีเอนไซม์สูงจะรับประทานได้) หรือตับอักเสบจนตัวเหลือง ตาเหลืองหรือตับโต
4.ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง
ทรีจี จินเส็ง กิฟฟารีน 3G GINSENG โสมสกัด (ชนิดเม็ด)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากโสมแดงเกาหลี ผสมสารสกัดจากโสมอเมริกัน และสารสกัดจากโสมไซบีเรีย ชนิดแคปซูล (ตรา กิฟฟารีน)
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ 1 แคปซูล :
- สารสกัดจากโสมแดงเกาหลี 100 มก.
- สารสกัดจากโสมอเมริกัน 60 มก.
- สารสกัดจากโสมไซบีเรีย 60 มก.
คำเตือน: อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค วิธีใช้ :
- วันละ 1 แคปซูล หลังอาหาร
- รหัสสินค้า 41032
- ปริมาณสุทธิ : 30.00 แคปซูล
- น้ำหนักรวม : 51 กรัม
- จำนวน : 1 ชิ้น
ราคาเต็ม 1,200บาท ราคาสมาชิก 900บาท
สามารถจดรหัสนี้ 111066933 ไปซื้อได้ที่สาขาใกล้บ้าน ลด25% ทั่วประเทศ
!สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้
!ส่งถึงหน้าบ้าน !มีเก็บปลายทาง
ติดต่อสอบถามสั่งซื้อรับส่วนลด
Tel.0835604800
Line : shareyonsk
กิฟฟารีนได้นำมาผลิตภายใต้มาตรฐาน GMP ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่าปลอดเชื้อโรคปลอดสารพิษปลอดโลหะหนักจึง ปลอดภัย100%
เอกสารอ้างอิง
- Biological Activities of Ginseng and Its Application to Human Health. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92776/
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- Antifatigue Effects of Panax ginseng C.A. Meyer: A Randomised, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial. PLoS One. 2013; 8(4): e61271
- Ginseng in the treatment of fatigue in multiple sclerosis: a randomized, placebo-controlled, double-blind pilot study. Int J Neurosci. 2013 Jul;123(7):480-6
- Ginseng as a Treatment for Fatigue: A Systematic Review. J Altern Complement Med. 2018 Jul;24(7):624-633
- Red Ginseng as an Ergogenic Aid: A Systematic Review of Clinical Trials. J Exerc Nutrition Biochem. 2016 Dec; 20(4): 13–19
- A double-blind crossover study evaluating the efficacy of korean red ginseng in patients with erectile dysfunction: a preliminary report. J Urol. 2002 Nov;168(5):2070-3
- Clinical efficacy of Korean red ginseng for erectile dysfunction. Int J Impot Res. 1995 Sep;7(3):181-6
- Red ginseng for treating erectile dysfunction: a systematic review. Database of Abstracts of Reviews of Effects (DARE): Quality-assessed Reviews [Internet]
- Effects of red ginseng on the congestive heart failure and its mechanism. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi. 1995 Jun;15(6):325-7
- Protective effects of ginsenoside on myocardiac ischemic and reperfusion injuries. Zhonghua Yi Xue Za Zhi. 1994 Oct;74(10):626-8, 648
- Experimental and epidemiological evidence on non-organ specific cancer preventive effect of Korean ginseng and identification of active compounds. Mutat Res. 2003 Feb-Mar;523-524:63-74
- Ginseng improves pulmonary functions and exercise capacity in patients with COPD. Monaldi Arch Chest Dis. 2002 Oct-Dec;57(5-6):242-6
- สารสกัดโสมอเมริกัน (HT1001) ช่วยให้การทำงานของสมองด้านความจำดีขึ้นในผู้ป่วยจิตเภท. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.medplant.mahidol.ac.th/active/shownews.asp?id=868
- Effects of American ginseng (Panax quinquefolius) on neurocognitive function: an acute, randomised, double-blind, placebo-controlled, crossover study. Psychopharmacology (Berl). 2010 Oct; 212(3): 345–356
- Cereboost™, an American ginseng extract, improves cognitive function via up-regulation of choline acetyltransferase expression and neuroprotection.Regul Toxicol Pharmacol. 2016 Jul;78:53-8
- Improved working memory performance following administration of a single dose of American ginseng (Panax quinquefolius L.) to healthy middle-age adults.Hum Psychopharmacol. 2015 Mar;30(2):108-22
- Anti-amnesic effect of pseudoginsenoside-F11 in two mouse models of Alzheimer’s disease. Pharmacol Biochem Behav. 2013 May;106:57-67
- ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของโสมอเมริกัน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://www.medplant.mahidol.ac.th/active/shownews.asp?id=830
- Eleutherococcus senticosusMonograph. http://archive.foundationalmedicinereview.com/publications/11/2/151.pdf
- Understanding adaptogenic activity: specificity of the pharmacological action of adaptogens and other phytochemicals. Ann N Y Acad Sci. 2017 Aug;1401(1):49-64
- Effects of Siberian ginseng (Eleutherococcus senticosus maxim.) on elderly quality of life: a randomized clinical trial. Arch Gerontol Geriatr Suppl. 2004;(9):69-73
- Panax ginseng: a systematic review of adverse effects and drug interactions. Drug Saf. 2002;25(5):323-44
- The safety of herbal medicines in the psychiatric practice. Harefuah. 2001 Aug;140(8):780-3, 805
You must be logged in to post a comment.