มะรุม
มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารอยู่ในหลายประเทศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lamk มะรุมมีชื่อเรียกต่างๆ คือ “Drum stick tree” “Horse radish tree” “Kelor tree” ส่วนต่างๆ ที่ใช้รับประทานคือ ใบ ผล ดอก และฝักอ่อน สำหรับในประเทศไทยนิยมใช้ฝักมะรุมปรุงอาหารในรูปของแกงส้ม แกงอ่อม
การใช้ประโยชน์ทางยา พบว่า เกือบจะทุกๆ ส่วนของต้นมะรุมมีการนำไปใช้ทางยาในแถบเอเชียใต้ ส่วนที่ใช้คือ ราก เปลือกต้น กัม (Gum) ใบ ผล (ฝัก) ดอก เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ด (อ้างอิงที่ 1) ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนดอกและผลเป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และแก้ไข้ ใช้ส่วนเมล็ดบดพอกแก้ปวดข้อตามข้อ และแก้ไข้ (อ้างอิงที่ 2) มีรายงานกล่าวถึงการนำพืชนี้มาใช้เป็นยาครอบจักรวาล (Panacea) (อ้างอิงที่ 3)
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับโคเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาล และฤทธิ์ต้านการอักเสบ
- ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝัก สารในกลุ่ม Glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขและหนูแรท
- ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สาระสำคัญในกลุ่ม Thiocarbamate จากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ดแสดงฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็ง เมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝักขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดจำนวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
- ฤทธิ์ลดระดับโคเลสเตอรอล
สารสกัดน้ำของส่วนใบ มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลและลดการเกิด Plaque ในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบโดยให้กระต่ายที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงและกระต่ายปกติ โดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัวต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียบกับยาลดไขมันโลวาสแตทิน 6 มก./กก. น้ำหนักตัวต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก พบว่ามีผลลดระดับโคเลสเตอรอล, Phospholipids, Triglycerides, Low density lipoprotein (LDL), Very low density lipoprotein (VLDL), อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้
- ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดเมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนุแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ำจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
- ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
สารสกัด 80 % เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ Acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนราก แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน
- ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
สารสกัดน้ำ สารสกัด 80 % เมทานอล และสารสกัด 70 % เอทานอลจากส่วนใบผลแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม Phenol จากส่วนรากสามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสระได้
- ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย Pterygospermin ของดอก สารสกัดอะซีโตนและสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด น้ำคั้นจากเปลือกต้น สารสกัดเอทานอลของเปลือกราก และสาร athomin จากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ด ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ Pyodermia ในหนูเม้าส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylo – coccus aureus
- ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล
ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูแรทและหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในทางพื้นบ้าน เพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด Oxidative Stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย (อ้างอิงที่ 2)
นอกจากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น มีงานวิจัยจากต่างประเทศหลายงานวิจัยรองรับว่ามะรุมมีสารอาหารต่างๆ มากมาย เช่น เป็นแหล่งของโปรตีน มีวิตามิน เบต้าแคโรทีน กรดอะมิโน อีกทั้งยังเป็นแหล่ง ของแคลเซียม เหล็ก และสังกะสี (อ้างอิงที่ 4-6) นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่ามะรุมมีสาร Polyphenol ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระด้วย (อ้างอิงที่ 7)
สำหรับความเป็นพิษของใบมะรุมนั้น มีการรายงานความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Toxicity) ของมะรุมในระดับสัตว์ทดลองว่า ผงใบมะรุมขนาด 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน (อ้างอิงที่ 8) หรืออาจจะเปรียบเทียบได้ว่า น้ำหนักตัวที่ 50 กิโลกรัม การได้รับผงใบมะรุมขนาด 25 กรัม ไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน
- ข้อแนะนำในการรับประทาน
แม้ว่าจะเป็นที่นิยมรับประทานกันมาเป็นเวลานาน หรือเป็นอาหารสุขภาพที่นิยมรับประทานกันในคนไทยมาร่วมปีแล้ว แต่เนื่องจากมะรุมยังไม่มีงานวิจัยความเป็นพิษระยะยาวในสัตว์ทดลอง คำแนะนำคือ ควรมีระยะเวลาพักในการรับประทานบ้าง คือ อาจจะไม่รับประทานต่อเนื่องทุกวัน ควรมีระยะพักต่อเดือนประมาณ 5-7 วัน
ข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะรับประทาน มะรุม
- เด็ก และสตรีมีครรภ์ เป็นข้อห้ามสำหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ป่วยโรคเลือด จีซิกพีดี (G6PD) (โรคเลือดอื่นๆ ไม่ได้ห้าม) โรคนี้จะห้ามรับประทานถั่วปากอ้า ซึ่งในมะรุมมีสารบางชนิดคล้ายในถั่วปากอ้าจึงควรห้ามรับประทานไปด้วย
- สตรีที่อาจจะตั้งครรภ์ หรือมีศักยภาพที่จะตั้งครรภ์ เช่น อยู่ในวัยและไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยว่า ในปริมาณที่สูงทำให้เกิดการแท้งในหนูทดลองได้
- ผู้ป่วยโรค ตับ ตับอักเสบ หรือตับแข็ง เป็นข้อห้ามสำหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี เพราะอาจจะมีผลรบกวนระดับยาได้
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นแนวทางที่จะช่วยในการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์มะรุมต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพ ป้องกันหรือรักษาโรค ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบพืชสด แห้ง เป็นแคปซูล หรือ เป็นสารสกัด
มะรุม-ซี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใบมะรุมผสมวิตามินซี ชนิดแคปซูล ตรา กิฟฟาริน
- ใบมะรุมชนิดผง 80.22 % 450 มก.
- กรดแอสคอร์บิก 2.67% 15 มก. (ให้วิตามินซี 15 มก.)
- รหัสสินค้า 41019
- ปริมาณสุทธิ : 60.00 แคปซูล
- น้ำหนักรวม : 70 กรัม
- จำนวน : 1 กล่อง
- ราคา 280บาท
- มะรุม-ซี฿280.005 ขายแล้ว
สามารถจดรหัสนี้ 111066933 ไปซื้อได้ที่สาขาใกล้บ้าน ลด25% ทั่วประเทศ
!สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้
!ส่งถึงหน้าบ้าน !มีเก็บปลายทาง
ติดต่อสอบถามสั่งซื้อรับส่วนลด
Tel.0835604800
Line : shareyonsk
กิฟฟารีนได้นำมาผลิตภายใต้มาตรฐาน GMP ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่าปลอดเชื้อโรคปลอดสารพิษปลอดโลหะหนักจึง ปลอดภัย100%
เอกสารอ้างอิง
1. มะรุม : พืชสมุนไพรหลากประโยชน์, จุลสารข้อมูลสมุนไพร 26(4):2552
2. มะรุม : พืชที่ทุกคนอยากรู้, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
3. Moringa oleifera (Drumstick) : An Overview. PHCOG REV 2008; 2 (4) : 7-13
4. Energy and micronutrient composition of dietary and medicinal wild plants consumed during drought. Study of rural Fulanl, northeastern Nigeria. Int J Food Sci Nutr. 2000 May;51(3): 195-208.
5. Nutrient content of the edible leaves of seven wild plandts from Niger. Plant Foods Hum Nutr. 1998;53(1): 57-69.
6. Moringa oleifera: a food plant with multiple medicinal uses. Phytother Res. 2007 Jan;21(1):17-25.
7. Evaluation of the polyphenol content and antiosidant properties of methanol extracts of the leaves, stem, and root barks of Moringa oleifera Lam. J Med Food. 2010 Jun;13(3):710-6.
8. การศึกษาพิษเฉียบพลันของใบมะรุม, สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
You must be logged in to post a comment.