อควา เทียร์ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์ เป็น DHA ที่อยู่ในตำแหน่ง Sn-2 มีโครงสร้างเหมือนในน้ำนมแม่ ทำให้มีความคงตัว และดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ที่ดวงตาได้ดี
คุณสมบัติของ ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์
- ช่วยลดอาการตาแห้ง
- ช่วยให้สุขภาพตาดีขึ้นในคนที่มีภาวะน้ำตาแห้ง
- ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำตาให้ดีขึ้น
- ช่วยลดการระเหยของน้ำตา และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา ทำให้ตาชุ่มชื้นขึ้น
- ช่วยลดอาการน้ำตาไหลจากอาการคันและเคืองตา
- ช่วยลดการใช้น้ำตาเทียม
ในน้ำตาคนเรามี ส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
- สารประเภท ไขมัน เป็นส่วนที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด จึงทำให้ลอยอยู่ชั้นบนสุด
- น้ำ เป็นของเหลวใส จึงอยู่ชั้นกลาง
- เยื่อเมือก ช่วยปกป้องเนื้อตาขาว และ ตาดำ จากสิ่งปลอมปน จึงเคลือบอยู่เนื้อลูกตา
ร่างกายของคนเรา จะมีต่อม Meibomian ทำหน้าที่ผลิตสารกลุ่มไขมัน เพื่อใช้ปกป้องการระเหยของชั้นฟิล์มที่เคลือบลูกตา ช่วยลดการระเหยของน้ำตา และทำให้ตาชุ่มชื้นตลอดเวลา แต่เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง, มีการสัมผัสความเย็น, มลภาวะเป็นพิษ หรือมีอนุมูลอิสระในร่างกายปริมาณสูง ต่อม Meibomian จะเกิดการอักเสบ อุดตันหรือเสื่อม ทำให้ร่างกายผลิตน้ำตาที่ด้อยคุณภาพ มีส่วนประกอบประเภทไขมันที่ไม่ปกติ จึงไม่สามารถป้องกันการระเหยของของเหลวได้ ทำให้น้ำตาระเหยได้ง่าย และไม่สามารถหล่อลื่น ระหว่างเนื้อเยื่อดวงตา(ลูกตา)กับเปลือกตาได้ ทำให้ชั้นเยื่อบุตาเกิดการฉีกขาด อักเสบ และระคายเคือง จนเยื่อบุตาขาวสร้างเนื้อนูนหรือพังผืดขึ้น เป็นสาเหตุของโรคตาแห้ง ต้อลม และต้อเนื้อได้
มีงานวิจัยหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์ ส่งเสริมให้ต่อม Meibomian ผลิตสารกลุ่มไขมันได้ตามปกติ และทำให้น้ำตามีคุณภาพ ซึ่งช่วยป้องกันและลดอาการตาแห้งหรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
- ช่วยทำให้ความดันลูกตาลดลง
โรคต้อหิน เป็นภาวะที่มีการทำลายหรือสูญเสียเส้นประสาทที่จอประสาทตาก่อนวันอันควร สาเหตุหลักคือความดันในลูกตาสูง จากการมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้น ความดันที่สูงจะไปกดจอประสาทตาทำให้เส้นประสาทตาเสียหายและตายในที่สุด แต่ในผู้ป่วยต้อหินบางรายก็มีการทำลายของเส้นประสาทตาโดยที่ความดันตาไม่ได้สูงกว่าคนปกติ ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญอื่นๆได้แก่ พันธุกรรม อายุ จึงแนะนำให้ไปตรวจตาทุกปีหลังอายุ 40 ปี
ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์ มีงานวิจัยว่าทำให้ไขมันหรือของเหลวละลายได้ดีขึ้น จึงระบายออกได้ง่ายขึ้น อีกทั้งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ จึงมีส่วนช่วยทำให้ความดันลูกตาลดลง ส่งผลดีในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดต้อหิน
- ช่วยลดอาการจอตาบวมน้ำจากภาวะเบาหวานขึ้นจอตา Diabetic retinopathy
โรคเบาหวาน มักก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาหลายประการ ไม่เพียงแต่ต้อกระจก ยังมีอาการผิวกระจกหลุดลอก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นสาเหตุของการตาบอดได้ คือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy) เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยในจอตา อาจเกิดจุดเลือดออกในจอตา ทำให้มีน้ำและไขมันรั่วออกมาทำให้จอตาบวมน้ำ หากเส้นเลือดรั่วที่จุดภาพชัด (Macular Edema) จะก่อให้เกิดอาการตามัว บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว ถ้าเส้นเลือดที่ผิวจอประสาทตาแตกจะทำให้เกิดเลือดออกในน้ำวุ้นตา เห็นเงาดำ คล้ายหยากไย่ หรือเห็นควันสีแดงลอยไปมา ถ้าโรคมีความรุนแรงอาจเกิดจอประสาทตาหลุดลอกเห็นเหมือนมีม่านบังตา หากเป็นมากจะรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้
ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาพบได้บ่อยในปัจจุบัน และพบมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น แนวทางการป้องกัน คือการควบคุมน้ำตาลในเลือด ตรวจตาเป็นระยะ อย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่านั้นตามคำแนะนำของจักษุแพทย์
ปัจจุบัน มีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับ ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์ร่วมกับ ยาควบคุมเบาหวาน (Ranibizumab) เป็นเวลา 36 เดือน จะช่วยให้อาการจอตาบวมน้ำจากเบาหวานดีขึ้น
- ช่วยเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงในการออกกำลังกาย
ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์จะช่วยให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น และ เพิ่มกระบวนการเผาผลาญไขมันไปเป็นพลังงานได้ดีขึ้น จึงช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ทนทานขึ้น อีกทั้งยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ โดยเพิ่ม SOD GPX และ Catalase ทำให้ยับยั้งความเสื่อมเซลล์ และ ลดการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ ในผู้ที่ออกกำลังอย่างหนักได้เป็นอย่างดี (อ้างอิงที่ 16)
- ช่วยพัฒนาความจำ และการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
DHA เป็นกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในเซลล์สมอง ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์ ที่มี DHA อยู่ในตำแหน่ง Sn-2 จะเป็นโครงสร้างที่คล้ายกับ DHA ที่พบในน้ำนมแม่ จึงดูดซึมและนำเข้าสู่เซลล์ได้ดีกว่า จึงมีส่วนช่วยในการทำงานของเซลล์สมองและ พัฒนาความจำและการเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งยังช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ DHA ที่อยู่ในตำแหน่ง Sn-2 มีรายงานว่ามีผลต่อระบบประสาทซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อโรคพาร์กินสันได้ (อ้างอิงที่ 17-18)
- ช่วยยับยั้งไม่ให้ DNA เกิดความเสียหายจากผลของมลภาวะ
ไตรโดโคซาเฮกซาโนอิน่า-เอโอเอ็กซ์กระตุ้นการสร้างกลูตาไธโอนในร่างกาย จึงมีส่วนช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยศึกษาผลของ DHA ที่อยู่ในตำแหน่ง Sn-2 ในการปกป้องเซลล์จาก Air pollution พบว่าช่วยยับยั้ง DNA damage ได้ (อ้างอิงที่ 19-20)
อควา เทียร์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา บาย อัลกาเทรียม (ตรา กิฟฟารีน)
- น้ำมันปลา 250 มก.
- วิตามินเอ 0.67 มก.
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค, ห้ามใช้ในผู้แพ้ปลาทะเล หรือน้ำมันปลา, ควรระวังในผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือแอสไพริน
- รหัสสินค้า 41715
- ปริมาณสุทธิ : 30.00 แคปซูล
- น้ำหนักรวม : 46.5 กรัม
- จำนวน : 1 กระปุก
ราคาสมาชิก 585บาท ราคาเต็ม 780บาท
!สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้
!ส่งถึงหน้าบ้าน !มีเก็บปลายทาง
ติดต่อสอบถามสั่งซื้อรับส่วนลด
เอกสารอ้างอิง
1. Martin J-C, Bougnoux P. et al., 1993. Triacylglycerol structure of human colostrum and mature milk. Lipids 28(7). 637-643. 2. López-LópezA, López-Sabater MC. et al. 2002. Fatty acid and sn-2 fatty acid composition in human milk from Granada (Spain) and in infant formulas. European Journal of Clinical Nutrition 56. 1242–1254. 3. Galbis-Estrada. A metabolomic approach to dry eye disorders. The role of oral supplements with antioxidants and omega 3 fatty acids.C. Mol Vis 21. 555-67. 4. Ribelles A. 2015. Ocular Surface and Tear Film Changes in Older Women Working with Computers.Biomed Res Int. 5. Oleñik A. 2014. Effectiveness and tolerability of dietary supplementation with a combination of omega-3 polyunsaturated fatty acids and antioxidants in the treatment of dry eye symptoms: results of a prospective study.Clin Ophthalmol8. 169-76. 6. Oleñik A. 2014. Benefits of omega-3 fatty acid dietary supplementation on health-related quality of life in patients with meibomian gland dysfunction. Clin Ophthalmol8. 831-6. 7. Pinazo-Durán MD. 2013. Effects of a nutraceutical formulation based on the combination of antioxidants and ω-3 essential fatty acids in the expression of inflammation and immune response mediators in tears from patients with dry eye disorders.Clin Interv Aging8. 139-48. 8. Oleñik A. 2013. A randomized, double-masked study to evaluate the effect of omega-3 fatty acids supplementation in meibomian gland dysfunction.Clin Interv Aging 8. 1133-8. 9. Gatell-Tortajada J. 2016. Oral supplementation with a nutraceutical formulation containing omega-3 fatty acids, vitamins, minerals, and antioxidants in a large series of patients with dry eye symptoms: results of a prospective study. Clin Interv Aging19(11). 571-8. 10. Villadóniga SR, García ER. et al. 2018. Effects of Oral Supplementation with Docosahexaenoic Acid (DHA) plus Antioxidants in Pseudoexfoliative Glaucoma: A 6-Month Open-Label Randomized Trial. Journal of Ophthalmology 2018. 11. Galbis-Estrada C. 2013. Patients undergoing long-term treatment with antihypertensive eye drops responded positively with respect to their ocular surface disorder to oral supplementation with antioxidants and essential fatty acids. Clin Interv Aging 8.711-9. 12. Tellez-Vazquez J. 2016. Omega-3 fatty acid supplementation improves dry eye symptoms in patients with glaucoma: results of a prospective multicenter study. Clin Ophthalmol 10. 617-26. 13. Lafuente M, Ortín L. et al. 2019. Three-year outcomes in a Randomized Single-Blind controlled Trial of Intravitreal Ranibizumab and Oral Supplementation with Docosahexaenoic acid and Antioxidants for Diabetic Macular Edema. Retina 39. 1083-1090. 14. María Elena Rodríguez, González-Herrero, et al. 2018. Supplementation with a highly concentrated docosahexaenoic acid plus xanthophyll carotenoid multivitamin in nonproliferative diabetic retinopathy: prospective controlled study of macular function by fundus microperimetry. Clin Ophthalmol 12. 1011-1020. 15. Lafuente M. 2017. Combined intravitreal Ranibizumab and oral supplementation with Docosahexaenoic acid and antioxidants for Diabetic Macular Edema. Two year randomized single-blind controlled trial results (Open Access). RETINA 37 (7). 1277–1286. 16. José A. Villegas Dep. Fisiología. et al. 2008. Oxidative protection of the cell’s DNA and on serum lipid peroxidation, after being exposed to intense physical exercise. Universidad Católica de San Antonio, Murcia; Comunicación presentada en el 30 Congreso Mundial de Medicina del Deporte; Barcelona, 18-23. 17. Joan Carles Domingo i Pedrol. Relative Biovailability of oral Formulations of docosahexaenoic acid in form of ALGATRIUM(R) in healthy volunteers. Universitat De Barcelona. 18. Gómez-Soler M, Cordobilla B. et al. 2018. Triglyceride Form of Docosahexaenoic Acid Mediates Neuroprotection in Experimental Parkinsonism. Frontiers of Neuroscience 12. 604. 19. Use of DHA, EPA or DHA-Derived EPA for Treating a Pathology Associated with Cellular Oxidative Damage. International Application Published under The Patent Cooperation Treaty (PCT). WO2007/071733. 20.International Patent PCT/EP2006/070016.
You must be logged in to post a comment.