เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว
พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด
สรรพคุณเด่นเถาวัลย์เปรียง
1. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ในตำรับยาพื้นบ้าน มีการนำเถาของเถาวัลย์เปรียงมาคั่วชงน้ำ แล้วดื่มกินแก้ปวดเมื่อย ส่วนตำรับยาแผนปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ร่วมกันวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย แล้วพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงชนิดแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน มีอาการปวดหลังลดลงไม่ต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลาเท่ากัน
2. พิชิตโรคข้อเข่าเสื่อม
เถาวัลย์เปรียงนับเป็นสมุนไพรที่ช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้ดีทีเดียว ดังที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยร่วมวิจัยกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แล้วพบว่า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับยานาโปรเซน ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ มีประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากผู้ที่รับยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์
3. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ตามตำรับยาแผนโบราณ เถาวัลย์เปรียงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีงานวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วยสนับสนุนเรื่องนี้ด้วยเช่นกันค่ะ โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดี 59 คน กินแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงวันละ 400 มิลลิกรัม เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน ก็พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ กับร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริง ๆ
4. รักษาอาการตกขาว
สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียงยังดีต่อสุขภาพผู้หญิงเช่นกัน เพราะช่วยรักษาอาการตกขาวชนิดที่ไม่มีอาการคัน ไม่มีกลิ่น และไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ด้วยค่ะ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณแล้ว วิธีใช้ก็คือ นำเถาวัลย์เปรียงสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มดื่มต่างน้ำ หรือดื่มวันละ 3 เวลา
5. ขับโลหิตเสีย-ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
อีกหนึ่งสรรพคุณที่พืชชนิดนี้มีดีต่อผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรก็คือ มีฤทธิ์ช่วยขับโลหิตเสียของผู้หญิง โดยการนำเถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ นำมาต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ นอกจากนี้เถาวัลย์เปรียงยังช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โดยการนำเถาสดมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบบนหน้าท้องคุณแม่หลังคลอด จากนั้นนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงบนเถาวัลย์เปรียงห์
cr.kapook.com

วิธีใช้สมุนไพร เถาวัลย์เปรียง
-แคปซูลที่ได้จากผลของเถาวัลย์เปรียง ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
-แคปซูลที่สกัดจากเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% ของเอทิลแอลกอฮอล์ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและแก้อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
ยาแคปซูล เถาวัลย์เปรียง สกัด ตรา กิฟฟารีน / ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน

ส่วนประกอบสำคัญ ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย :
- เถาวัลย์เปรียงสกัด 200 มก.
- เถาเอ็นอ่อน 82 มก. และตัวยาอื่นๆ
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค
ข้อห้ามในการใช้
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิต ไม่ควรรับประทาน
- รหัสสินค้า 48014
- ปริมาณสุทธิ : 30.00 แคปซูล
- น้ำหนักรวม : 40 กรัม
- จำนวน : 1 กล่อง
- ราคา 320บาท
- เถาวัลย์เปรียงสกัด฿320.00
!สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้
!ส่งถึงหน้าบ้าน !มีเก็บปลายทาง
ติดต่อสอบถามสั่งซื้อรับส่วนลด

Tel.0835604800
Line : shareyonsk
ผลิตภัณฑ์ กิฟฟารีน ได้นำมาผลิตภายใต้มาตรฐาน GMP ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่าปลอดเชื้อโรคปลอดสารพิษปลอดโลหะหนักจึง ปลอดภัย100%


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของ เถาวัลย์เปรียง
- องค์ประกอบทางเคมีที่พบในเถาและรากเถาวัลย์เปรียง ได้แก่ chandalone, etunaagarone, nalanin, lonchocarpenin, osajin, robustic acid, scandenin, scandione, scandenone, scandinone, waragalone, wighteone[5],[11]
- สารสกัดด้วยน้ำช่วยลดการหลั่ง myeloperoxidase (88 %) ของหนู (rat peritoneal leukocytes) ที่ถูกกระตุ้นด้วย calcium ionophore โดยมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยการยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (Eicosanoid)[12]
- สาร genistein และสาร scandenin ช่วยลดการหลั่ง elastasemyeloperoxidase ของหนู (rat peritoneal leukocytes) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.22 และ 0.14 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ[12]
- สารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วย 50% เอทานอล 500 ไมโครกรัม/มล. ช่วยยับยั้งเอนไซม์ lipoxygenase โดยลดการเกิด leukotriene B4 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ[12]
- มีงานวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ในขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7 โดยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 ของการรักษา แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่พบว่ามีผลข้างเคียงหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีแต่อย่างใด
- สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงมีสารในกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavone) และสารไอโซฟลาโวน ไกลโคไซด์ (Isoflavone glycoside) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ โดยเฉพาะอาการอักเสบตามข้อ โดยมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันประเภทสเตียรอยด์ได้เป็นอย่างดี[10]
- สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบเมื่อให้สารสกัดในขนาด 100 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมกับหนูขาวทางช่องท้อง โดยพบว่าสามารถช่วยลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวหลังได้รับสารคาราจีแนน (Carrageenan-induced hindpaw edema) แต่จะไม่มีผลเมื่อให้สารสกัดนี้ทางปาก[12]
- สารสกัดด้วย 50% เอทานอล-น้ำมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ เมื่อให้สารสกัดในขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมกับหนูขาวทางปากเมื่อศึกษาด้วยวิธี Carrageenan-induced hindpaw edema[12]
- จากการศึกษาประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในการใช้รักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 125 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน (Naproxen) ในขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์เช่นกัน ผลจากการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้เป็นอย่างดี ทำให้การทำงานของเข่าดีขึ้น และมีความปลอดภัยไม่ต่างจากการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน นอกจากนี้อาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียดท้อง จะพบได้น้อยกว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับยาแผนปัจจุบันนาโพรเซน
- มีรายงานว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด มีผลลดความดันโลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจในสัตว์ทดลอง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชนิดจากแพทย์เจ้าของไข้
- จากการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยเอทานอล 50% ที่ให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และให้โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 6,250 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ[5]
- จากการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% เอทานอลกับหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 6, 60 และ 600 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือให้สารสกัดเทียบเท่ากับผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง 0.03, 0.3 และ 3 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัมต่อวัน (คิดเป็น 100 เท่าของขนาดที่ใช้กับคนต่อวัน) พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางจุลพยาธิของอวัยวะภายใน ค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม และไม่พบว่ามีความผิดปกติใด ๆ[5],[12]
- มีการทดสอบความปลอดภัยกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 59 ราย โดยให้อาสาสมัครกินแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ครั้งละ 1 แคปซูล แคปซูลละ 200 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ไม่พบว่าอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงแต่อย่างใด[7] และจากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และยังสามารถเหนี่ยวนำให้มีการหลั่งของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ที่อาจมีส่วนในการช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- จากการศึกษาประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิต้านทานของเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 47 ราย โดยให้รับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% เอทานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของค่าปกติ สรุปได้ว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวันมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน และอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย[12]
You must be logged in to post a comment.